ตน

ตน
ตนเดินดิน



วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

รูปที่หาดูยาก


ตัวอย่างบทคัดย่อ



บทคัดย่องานวิจัย เรื่อง การประเมินโครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง อำเภอร่อนพิบูลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

บทคัดย่อ ชื่อเรื่องวิจัย การประเมินโครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง อำเภอร่อนพิบูลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3ชื่อผู้วิจัย วิโรจน์ ฤกษ์ศิริสถาบัน โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง ปีทำการวิจัย 2550 การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง อำเภอร่อนพิบูลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิต ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง จำนวน 100 คน ครูโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง จำนวน 12 คน ครูโรงเรียนอื่นๆ จำนวน 30 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง จำนวน 1 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนอื่นๆ จำนวน 20 คน ผู้นำชุมชนในตำบลหินตก จำนวน 20 คน ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 1 คน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบวัดเจตคติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้
1. ผลการประเมินสภาวะแวดล้อมด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการจัดการศึกษาทางไกลต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้บริหาร พบว่าสภาวะแวดล้อมส่วนใหญ่มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ยกเว้นช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาตนเองมีความเหมาะสมในระดับมาก
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นเกี่ยวกับการเรียนการสอน สรุปได้ดังนี้
2.1 ผลการประเมินผู้สอนด้านบุคลิกลักษณะส่วนตัว ตามความคิดเห็นของผู้เรียนพบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
2.2 ผลการประเมินผู้สอนด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้เรียนพบว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
2.3 ผลการประเมินความเหมาะสมของสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนตามความคิดเห็นของผู้เรียนพบว่าส่วนใหญ่มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและมีสิ่งรบกวนทำให้เสียสมาธิในการเรียนวิชานี้อยู่ในระดับน้อยที่สุด
3. ผลการประเมินกระบวนการ ซึ่งเป็นการประเมินการจัดกระบวนการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม สรุปได้ดังนี้

3.1 ผลการประเมินความเหมาะสมในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้านวิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนตามความคิดเห็นของผู้เรียนในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3.2 ผลการประเมินความเหมาะสมในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้านการใช้วัสดุและสื่อการเรียนการสอน ตามความคิดเห็นของผู้เรียนในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3.3 ผลการประเมินความเหมาะสมในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้เรียนในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3.4 ผลการประเมินความเหมาะสมในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้านการมี
ปฎิสัมพันธ์ของผู้สอนกับผู้เรียน ตามความคิดเห็นของผู้เรียนในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3.5 ผลการวัดเจตคติของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมอยู่ในระดับมากที่สุด
อย่างไรก็ตามในการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมยังมีข้อบกพร่องที่ผู้เรียนให้ข้อมูลไว้ได้แก่ ครูบางคนเตรียมตัวมาไม่ดี ไม่ได้ศึกษาเนื้อหามาก่อนทำให้ผู้เรียนไม่ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ ครูบางคนมักจะให้ผู้เรียนนั่งดูโดยที่ครูทำงานอย่างอื่น ทำให้กระบวนการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ งานราชการก็มีส่วนทำให้ครูไม่ว่างที่จะมาสอนจึงปล่อยให้ผู้เรียน เรียนกันตามลำพัง กิจกรรมภายในโรงเรียนทำให้การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมกระทำได้ไม่ต่อเนื่องอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีก็มีส่วนบ้างในการทำให้การจัดการเรียนการสอนหยุดชะงักจากสัญญาณดาวเทียมหรืออุปกรณ์เสียหาย
4. ผลการประเมินผลผลิต ซึ่งเป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากใช้การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ผลวิจัยพบว่า
4.1 ผลการวัดเจตคติของครูโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง ครูโรงเรียนอื่น ๆ ผู้นำชุมชนในตำบลหินตก ที่มาใช้บริการทางวิชาการได้แก่ การเข้ารับการอบรม ประชุมสัมมนาและการรับข้อมูลสารสนเทศทางไกลผ่านดาวเทียม พบว่ามีเจตคติที่ดีในระดับมากที่สุด
4.2 ผู้เรียนมีระดับผลการเรียนในวิชาที่สอนทางไกลผ่านดาวเทียม มีระดับดีมากที่สุด (ร้อยละ 48) รองลงมามีระดับผลการเรียนดีมาก (ร้อยละ 28) ปานกลาง (ร้อยละ 22) และน้อยที่สุดคือระดับพอใช้ (ร้อยละ 2) และผู้เรียนร้อยละ 98 มีผลการเรียนระดับปานกลางถึงดีมาก
4.3 ผลอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน พบว่า 1) ผู้เรียนได้ฝึกการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น 2) ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่น ๆ ในชั้นเรียนมากขึ้น 3) ผู้เรียนได้ประเมินกันเองภายในห้องเรียนจึงทำให้เกิดการยอมรับกันมากขึ้น 4) ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่ามีความรู้ที่กว้างไกลมากขึ้น สามารถไปพูดคุยกับคนอื่น ๆ ได้อย่างไม่อายใคร 5) ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น 6) ผู้เรียนมีทักษะและแนวทางในการแสวงหาความรู้ต่อไปในอนาคต


ผลงานการวิจัยของ : ชื่อผู้วิจัย วิโรจน์ ฤกษ์ศิริส ถาบัน โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง




ความพึงพอใจและการให้บริการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง
อำเภอดอกคำใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยาเขต 1 จังหวัดพะเยานายอุทัย ไชยวุฒิโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยาเขต 1บทคัดย่องานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ความต้องการของผู้ใช้บริการและการให้บริการ โดยมุ่งเป้าหมายด้านคุณภาพในการจัดอาหารกลางวันเป็นสำคัญ กล่าวคือ มุ่งให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวัน และได้รับคุณค่าอาหารครบทุกหมู่ ลดปริมาณการขาดสารอาหารในนักเรียนให้ได้ 100% ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการอาหารกลางวัน ซึ่งดำเนินการและสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ โดยนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการดำเนินการของเทศบาลและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการ รวมถึงเป็นแนวทางในการให้บริการแก่ผู้ดำเนินการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุงข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากการแบบสอบถาม จำนวน 54 ราย แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) และสุ่มตัวอย่างการบันทึก ควบคุมดูแลการดำเนินการอาหารกลางวันผลวิจัยสรุปได้ว่าอาหารควรปรับปรุงเรื่องความสะอาดมากที่สุด รองลงมาคือได้รับประทานอาหารให้อิ่มพอเพียง ภาชนะมีความสะอาด และการแต่งกายของแม่ครัวควรแต่งกายให้รัดกุมตามร้อยละของคะแนนดังนี้ 100,81.48,75.92 และ72.22ตามลำดับ รายการอาหารกลางวันมีความพอใจปานกลาง ด้านความสะอาดของอาหารมีระดับความไม่พอใจแสดงให้เห็นว่าควรมีการดำเนินการปรับปรุงเรื่องความสะอาด และรสชาติของอาหารตามลำดับ ในด้านความพึงพอใจในด้านผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบการ ในด้านการแต่งกายรัดกุมด้วยผ้ากันเปื้อนหรือหมวกคลุมผมมีระดับความเห็นปานกลางถึงควรปรับปรุงให้มากขึ้น ในด้านอัธยาศัยไมตรีมีความเห็นปานกลางไปถึงการปรับปรุงให้มีความเอื้ออารีเมตตา ในด้านความพึงพอใจในภาชนะมีความพอใจปานกลาง ถึงไม่ค่อยพอใจและสถานที่มีความสะอาดปานกลาง สำหรับโต๊ะม้านั่งมีความเห็นในระดับพอใจ ในด้านการทำกิจกรรมก่อนทานอาหารค่อนข้างเห็นด้วยไปจนถึงระดับปานกลาง

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

งานที่ทำส่ง

แผนงานโครงการ/กิจกรรมที่จะดำเนินพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2552

งานวิชาการมี 11 โครงการคือ
1. โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2. โครงการพัฒนาห้องสมุด
3. โครงการรักการอ่าน
4. โครงการนิเทศการศึกษา
5. โครงการปฏิบัติธรรมระหว่างพรรษา
6. โครงการวิถีพุทธ/ค่ายพุทธบุตร
7. โครงการเข้าค่ายวิทยาศาสตร์
8. โครงการเข้าค่ายพักแรมลูกเสือ
9. โครงการธนาคารขยะ
10. โครงการส่งเสริมประชาธิปไตย
11. โครงการนำนักเรียนไปแหล่งเรียนรู้
12. โครงการกีฬา
1.3 กิจกรรมชุมชม

งานบริหารงานบุคคลมี 1 โครงการ
1. โครงการพัฒนาบุคลากร

งานบริหารทั่งไปมี 6 โครงการ
1. โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย
2. โครงการอาหารกลางวัน
3. โครงการพัฒนาส่งแวดล้อม
4. โครงการประชาสัมพันธ์
5. โครงการพืชสมุนไพร
6. โครงการประมง

งานการบริหารงบประมาณ
1. โครงการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา


1. สภาพทั่วไป

1.1 ข้อมูลทั่วไป
โรงเรียนบ้านน้ำดิบ ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปางเขต 2 เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ถึงระดับประถมศึกษาที่ 6 มีเนื้อที่ 13 ไร่ งาน 44 ตารางวา
1.2 ข้อมูลนักเรียน
1)จำนวนนักเรียนในเขตพื้นที่บริการทั้งหมด 155 คน
2)จำนวนนักเรียนจำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอน ปีการศึกษา 2552
ระดับชั้น
เพศ
รวม
ชาย
หญิง
อ.1
4
3
7
อ.2
7
5
12
รวม
11
8
19
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
8
6
4
4
11
13
7
5
9
5
12
13
15
11
13
9
23
26
รวม
58
57
115
รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด
58
57
115
1) มีนักเรียนที่มีความบกพร่องเรียนร่วม 7 คน
2) มีนักเรียนที่มีภาวะทุกโภชนาการ..........คน
3) มีนักเรียนปัญญาเลิศ..............................คน
4) มีนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ 7 คน
5) จำนวนนักเรียนต่อห้อง (เฉลี่ย) 17.13 คน
6) อัตราครูต่อนักเรียน = 1 : 17.13
7) จำนวนนักเรียนที่ลาออกกลางคัน(ปีปัจจุบัน)– คน
8) สถิติการขาดเรียน/เดือน 2 วัน
9) จำนวนนักเรียนที่ทำชื่อเสียงให้แก่โรงเรียน(รางวัลดีเด่นที่ได้รับ) 8 คน นาฎศิลป์ไทยอนุรักษ์

1.3 ข้อมูลครูและบุคลากร
1)ผู้บริหารชื่อ นายโสภณ ศรีวิชัย วุฒิทางการศึกษาสูงสุด กศ.ม. สาขาบริหารการศึกษา ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่ 28 พ.ค. 2552
2)ผู้ช่วยบริหาร (ที่ได้รับแต่งตั้ง) - คน
3) จำนวนครูผู้สอน (ข้าราชการ) 8 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน
· วุฒิทางการศึกษาของครู (ข้าราชการ) ต่ำกว่าปริญญาตรี – คน ปริญญาตรี 5 คน ปริญญาโท 1 คน
· อายุเฉลี่ยของครู (ข้าราชการ) 52 ปี และประสบการณ์สอนเฉลี่ย 29 ปี

สภาพปัจจุบัน ปีการศึกษา 2552
จำนวนนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1 ชั้นประถมศึกษาชั้นประถมศึกษาปี 2552
ระดับชั้น
เพศ
หมายเหตุ
ชาย
หญิง
รวม
อ.1
4
3
7

อ.2
7
5
12

รวม
11
8
19

ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
8
6
4
4
11
13
7
5
9
5
12
13
15
11
13
9
23
26
รวม
58
57
115

รวมจำนวนนัดเรียนทั้งหมด
58
57
115



จำนวนเด็กที่ชั้น ป.6 ปีการศึกษา 2551 เรียนต่อ ม.1
จำนวนนักเรียน ป.6
เรียนต่อ ม.1
หมายเหตุ
ชาย
หญิง
รวม
สปช.
กรมสามัญ
เอกชน
รวม

13

13

26

-

23

3

26
โรงเรียนแม่พริกวิทยา
โรงเรียนเถินวิทยา
โรงเรียนศักดิ์สุนันท์วิทยา







2.ด้านการวางแผนพัฒนา ตามยุทธศาสตร์ที่ 1

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และมุ่งสู่ระดับสากลบนพื้นฐานภูมิปัญญาไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ให้บริการและจัดการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมกัน พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาที่ หลากหลาย
โครงการและกิจกรรมที่จะดำเนินการ
13. โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
14. โครงการพัฒนาห้องสมุด
15. โครงการรักการอ่าน
16. โครงการนิเทศการศึกษา
17. โครงการปฏิบัติธรรมระหว่างพรรษา
18. โครงการวิถีพุทธ/ค่ายพุทธบุตร
19. โครงการเข้าค่ายวิทยาศาสตร์
20. โครงการเข้าค่ายพักแรมลูกเสือ
21. โครงการธนาคารขยะ
22. โครงการส่งเสริมประชาธิปไตย
23. โครงการนำนักเรียนไปแหล่งเรียนรู้
24. โครงการกีฬา
25. กิจกรรมชุมชม
เป้าหมายที่ 4 นักเรียนมีสุขภาพอนามัย แข็งแรงและมีสุขภาพจิตดี
เป้าหมายที่ 5 นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาผู้เรียนให้มีสุภาพร่างกายที่แข็งแรง มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน
โครงการและกิจกรรมที่จะดำเนินการพัฒนา
1. โครงการกีฬา
2. โครงการส่งเสริมคุณภาพอนามัย
3. โครงการอาหารกลางวัน
4. โครงการประมง
5. โครงการส่งเสริมประชาธิปไตย
6. โครงการปฏิบัติธรรมระหว่างพรรษา
7. โครงการวิถีพุทธ/ค่ายพุทธบุตร
8. โครงการเข้าค่ายพักแรมลูกเสือ
เป้าหมายที่ 6 ผู้มีความรู้ความสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความก้าวหน้าภาคภูมิใจในอาชีพ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการและกิจกรรมที่จะดำเนินการพัฒนา
1. โครงการพัฒนาบุคลากร
2. โครงการนิเทศภายใน
เป้าหมายที่ 7 กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรภาครัฐ และเอกชน มีส่วนร่วมพัฒนาโรงเรียน

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
โครงการและกิจกรรมาที่จะดำเนินการพัฒนา
1. โครงการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
2. โครงการประชาสัมพันธ์
3. โครงการปลูกพืชสมุนไพร
4. โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

3. ด้านบุคคล

มีบุคลากรที่รับผิดชอบดูแลห้องคอมพิวเตอร์ 1 คน และครูฝ่ายพัสดุ การเงินเจ้าหน้าที่ธุรการ โรงเรียนบ้านน้ำดิบมีการติดตั้งอินเตอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าของนักเรียน จำนวน 12 เครื่อง มีนักเรียนมาใช้บริการอินเตอร์เน็ต 50 คน ต่อวัน วัน และโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ใช้ในการเรียนการสอน 12 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนจำนวน จำนวนนักเรียนต่อเครื่อง เท่ากับ 1 เครื่อง นักเรียน 10 คน นอกจากนี้ห้องสมุดแล้วโรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ภายใน และภายนอกโรงเรียน

4. ด้านเครื่องมือ

มีเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวนทั้งหมด 20 เครื่อง โทรศัพท์ 1 เครื่อง โทรทัศน์ 15 เครื่องเครื่องถ่ายเอกสาร 9 เครื่อง


5.ด้าน SOFWERE

เครื่องถ่ายเอกสาร 9 เครื่อง ลำโพง 9 ชุด เครื่องสแกนเนอร์ 9 เครื่อง

6.ด้านการใช้งาน

-การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ มีการเรียนการสอนนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นรายคาบ รายวิชา/ชั้น/ห้อง
-ในชั้นเรียนมีคอมพิวเตอร์ประจำทุกชั้นเรียนบุคลากรใช้ในสายงานที่รับผิดชอบ

7.ด้านอื่นๆ

เปิดให้บริการบุคคลทั่วไปใช้ระบบสื่อสารเทคโนโลยีด้านอินเตอร์เน็ต ทุกวันทำการ และมีการบริการช่วยเหลือในสิ่งพิมพ์ที่บุคคลภายนอกเข้ามาใช้การบริการในการถ่ายเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องงานของชุมชน

สรุป
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545) กำหนดให้สถานศึกษาจัดการศึกษาอย่างหลากหลายโดยยึดเด็กเป็นสำคัญและ ให้มีคุณภาพผู้บริหารการศึกษามีความสำคัญยิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถทันต่อเหตุการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคข้อมูลข่าวสาร
ทางโรงเรียนบ้านน้ำดิบจึงได้พัฒนาระบบสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนให้ทันสมัยและให้บุคลากร นักเรียน ชุมชน มีส่วนร่วมในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ส่งบุคลากรที่รับผิชอบด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าร่วมอบรมการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น






นางจันทร์ศรี สืบศรีวิชัย รหัส 525314612 กลุ่ม b7 ห้องเรียนวันอาทิตย์