ตน

ตน
ตนเดินดิน



วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่างบทคัดย่อ



บทคัดย่องานวิจัย เรื่อง การประเมินโครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง อำเภอร่อนพิบูลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

บทคัดย่อ ชื่อเรื่องวิจัย การประเมินโครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง อำเภอร่อนพิบูลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3ชื่อผู้วิจัย วิโรจน์ ฤกษ์ศิริสถาบัน โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง ปีทำการวิจัย 2550 การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง อำเภอร่อนพิบูลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิต ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง จำนวน 100 คน ครูโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง จำนวน 12 คน ครูโรงเรียนอื่นๆ จำนวน 30 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง จำนวน 1 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนอื่นๆ จำนวน 20 คน ผู้นำชุมชนในตำบลหินตก จำนวน 20 คน ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 1 คน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบวัดเจตคติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้
1. ผลการประเมินสภาวะแวดล้อมด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการจัดการศึกษาทางไกลต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้บริหาร พบว่าสภาวะแวดล้อมส่วนใหญ่มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ยกเว้นช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาตนเองมีความเหมาะสมในระดับมาก
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นเกี่ยวกับการเรียนการสอน สรุปได้ดังนี้
2.1 ผลการประเมินผู้สอนด้านบุคลิกลักษณะส่วนตัว ตามความคิดเห็นของผู้เรียนพบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
2.2 ผลการประเมินผู้สอนด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้เรียนพบว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
2.3 ผลการประเมินความเหมาะสมของสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนตามความคิดเห็นของผู้เรียนพบว่าส่วนใหญ่มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและมีสิ่งรบกวนทำให้เสียสมาธิในการเรียนวิชานี้อยู่ในระดับน้อยที่สุด
3. ผลการประเมินกระบวนการ ซึ่งเป็นการประเมินการจัดกระบวนการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม สรุปได้ดังนี้

3.1 ผลการประเมินความเหมาะสมในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้านวิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนตามความคิดเห็นของผู้เรียนในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3.2 ผลการประเมินความเหมาะสมในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้านการใช้วัสดุและสื่อการเรียนการสอน ตามความคิดเห็นของผู้เรียนในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3.3 ผลการประเมินความเหมาะสมในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้เรียนในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3.4 ผลการประเมินความเหมาะสมในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้านการมี
ปฎิสัมพันธ์ของผู้สอนกับผู้เรียน ตามความคิดเห็นของผู้เรียนในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3.5 ผลการวัดเจตคติของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมอยู่ในระดับมากที่สุด
อย่างไรก็ตามในการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมยังมีข้อบกพร่องที่ผู้เรียนให้ข้อมูลไว้ได้แก่ ครูบางคนเตรียมตัวมาไม่ดี ไม่ได้ศึกษาเนื้อหามาก่อนทำให้ผู้เรียนไม่ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ ครูบางคนมักจะให้ผู้เรียนนั่งดูโดยที่ครูทำงานอย่างอื่น ทำให้กระบวนการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ งานราชการก็มีส่วนทำให้ครูไม่ว่างที่จะมาสอนจึงปล่อยให้ผู้เรียน เรียนกันตามลำพัง กิจกรรมภายในโรงเรียนทำให้การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมกระทำได้ไม่ต่อเนื่องอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีก็มีส่วนบ้างในการทำให้การจัดการเรียนการสอนหยุดชะงักจากสัญญาณดาวเทียมหรืออุปกรณ์เสียหาย
4. ผลการประเมินผลผลิต ซึ่งเป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากใช้การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ผลวิจัยพบว่า
4.1 ผลการวัดเจตคติของครูโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง ครูโรงเรียนอื่น ๆ ผู้นำชุมชนในตำบลหินตก ที่มาใช้บริการทางวิชาการได้แก่ การเข้ารับการอบรม ประชุมสัมมนาและการรับข้อมูลสารสนเทศทางไกลผ่านดาวเทียม พบว่ามีเจตคติที่ดีในระดับมากที่สุด
4.2 ผู้เรียนมีระดับผลการเรียนในวิชาที่สอนทางไกลผ่านดาวเทียม มีระดับดีมากที่สุด (ร้อยละ 48) รองลงมามีระดับผลการเรียนดีมาก (ร้อยละ 28) ปานกลาง (ร้อยละ 22) และน้อยที่สุดคือระดับพอใช้ (ร้อยละ 2) และผู้เรียนร้อยละ 98 มีผลการเรียนระดับปานกลางถึงดีมาก
4.3 ผลอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน พบว่า 1) ผู้เรียนได้ฝึกการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น 2) ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่น ๆ ในชั้นเรียนมากขึ้น 3) ผู้เรียนได้ประเมินกันเองภายในห้องเรียนจึงทำให้เกิดการยอมรับกันมากขึ้น 4) ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่ามีความรู้ที่กว้างไกลมากขึ้น สามารถไปพูดคุยกับคนอื่น ๆ ได้อย่างไม่อายใคร 5) ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น 6) ผู้เรียนมีทักษะและแนวทางในการแสวงหาความรู้ต่อไปในอนาคต


ผลงานการวิจัยของ : ชื่อผู้วิจัย วิโรจน์ ฤกษ์ศิริส ถาบัน โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง




ความพึงพอใจและการให้บริการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง
อำเภอดอกคำใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยาเขต 1 จังหวัดพะเยานายอุทัย ไชยวุฒิโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยาเขต 1บทคัดย่องานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ความต้องการของผู้ใช้บริการและการให้บริการ โดยมุ่งเป้าหมายด้านคุณภาพในการจัดอาหารกลางวันเป็นสำคัญ กล่าวคือ มุ่งให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวัน และได้รับคุณค่าอาหารครบทุกหมู่ ลดปริมาณการขาดสารอาหารในนักเรียนให้ได้ 100% ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการอาหารกลางวัน ซึ่งดำเนินการและสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ โดยนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการดำเนินการของเทศบาลและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการ รวมถึงเป็นแนวทางในการให้บริการแก่ผู้ดำเนินการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุงข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากการแบบสอบถาม จำนวน 54 ราย แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) และสุ่มตัวอย่างการบันทึก ควบคุมดูแลการดำเนินการอาหารกลางวันผลวิจัยสรุปได้ว่าอาหารควรปรับปรุงเรื่องความสะอาดมากที่สุด รองลงมาคือได้รับประทานอาหารให้อิ่มพอเพียง ภาชนะมีความสะอาด และการแต่งกายของแม่ครัวควรแต่งกายให้รัดกุมตามร้อยละของคะแนนดังนี้ 100,81.48,75.92 และ72.22ตามลำดับ รายการอาหารกลางวันมีความพอใจปานกลาง ด้านความสะอาดของอาหารมีระดับความไม่พอใจแสดงให้เห็นว่าควรมีการดำเนินการปรับปรุงเรื่องความสะอาด และรสชาติของอาหารตามลำดับ ในด้านความพึงพอใจในด้านผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบการ ในด้านการแต่งกายรัดกุมด้วยผ้ากันเปื้อนหรือหมวกคลุมผมมีระดับความเห็นปานกลางถึงควรปรับปรุงให้มากขึ้น ในด้านอัธยาศัยไมตรีมีความเห็นปานกลางไปถึงการปรับปรุงให้มีความเอื้ออารีเมตตา ในด้านความพึงพอใจในภาชนะมีความพอใจปานกลาง ถึงไม่ค่อยพอใจและสถานที่มีความสะอาดปานกลาง สำหรับโต๊ะม้านั่งมีความเห็นในระดับพอใจ ในด้านการทำกิจกรรมก่อนทานอาหารค่อนข้างเห็นด้วยไปจนถึงระดับปานกลาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น